วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทอร์โมคัปเปิล (THERMOCOUPLE) ตอนที่ 1

เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หรือ ที่ทั่ว ๆ ไปบางคนมักเรียกกันว่า หัววัดอุณหภูมิซึ่งเจ้าตัว เทอร์โมคัปเปิลนี้ก็จะมีอยู่หลากหลายชนิด หลากหลายแบบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการนำไปใช้ในลักษณะของการวัดที่แตกต่างต่างกันออกไปมาทำความรู้จักกับ เทอร์โมคัปเปิลกันครับ

ลักษณะของเทอร์โมคัปเปิลแบบต่าง ๆ 


หลักการของเทอร์โมคัปเปิล

       ในปี ค.ศ. 1821 โธมัส ซีเบ็ค (Thomas Seebeck) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการทดลองและค้นพบว่า เมื่อทำการเชื่อมโลหะ 2 เส้นที่เป็นโลหะต่างชนิดกันเข้าด้วยกัน ถ้าอุณหภูมิที่ปลายทั้ง 2 ด้านไม่เท่ากันจะเกิดกระแสไหลในโลหะทั้ง 2 เส้น นั่นแสดงว่า ถ้าเปิดปลายจุดต่อด้านหนึ่งออกแล้วนำ Voltmeter ไปวัดจะได้แรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างโลหะ 2 เส้นค่าหนึ่ง (ค่านี้มีปริมาณน้อย หน่วยเป็น mV) เรียกแรงเคลื่อนไฟ้ฟ้านี้ว่า Seebeck Voltage



เทอร์โมคัปเปิลแบบมาตรฐาน

     เทอร์โมคัปเปิ้ลมีหลาย Type ให้เลือก แล้วแต่ย่านอุณหภูมิ และลักษณะการใช้งาน โดยความแตกต่างของแต่ละ Type นี้เกิดจากการเลือกใช้คู่ของวัสดุ (Element) ของโลหะที่จะนำมาเชื่อมเข้าด้วยกันให้แตกต่างกัน เพราะโลหะแต่ละชนิดย่อมมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวของมันอยู่แล้ว เมื่อโลหะชนิดต่าง ๆ กันมาจับคู่เชื่อมเข้าด้วยกัน จะทำให้คุณสมบัติของเทอร์โมคัปเปิล ที่ได้แตกต่างกันไป นอกจากนี้ ได้มีการทดลองผสมโลหะต่างชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของโลหะเดิมให้ดีขึ้น หรือเพื่อใช้แทนโลหะบางชนิดที่ใช้ทำอยู่เดิม เช่น แพลทินัม เนื่องจากราคาสูง ตัวอย่างโลหะผสมที่เกิดขึ้น เช่น โครเมล (Cromel) คือโลหะผสมของ นิกเกิ้ล 90% และ โครเมียม 10% ,อลูเมล (Alumel) คือ โลหะผสมของ นิกเกิ้ล 95% อลูมิเนียม 2% แมงกานิส 2% และ ซิลิคอน 1% ,คอนสแตนแตน (Constantan) คือ โลหะผสมของ ทองแดง60% และ นิกเกิ้ล40% เป็นต้น
     การใช้งานเทอร์โมคัปเปิล ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับงานนั้น ๆ โดยสิ่งที่ควรพิจารณามีหลายข้อ เช่น ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งาน,ราคา,ความกัดกร่อนของสารที่เทอร์โมคัปเปิลสัมผัส,ต้องใช้ Thermowell หรือไม่,ลักษณะบรรยากาศที่เป็น Oxidizing,Reducing,Inert หรือ Vacuum เป็นต้น


ตารางแสดงคุณสมบัติเปรียบเทียบเทอร์โมคัปเปิลแบบมาตรฐาน Type ต่างๆ

Type ส่วนผสม ย่านอุณหภูมิใช้งาน แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ได้
mV
C F
B แพลทินัม - 30% โรเดียม
แพลทินัม - 6% โรเดียม
0 ถึง 1820 32 ถึง 3310 0 ถึง 13.814
R แพลทินัม - 13% โรเดียม
แพลทินัม
-50 ถึง 1768 -60 ถึง 3210 -02.26 ถึง 21.108
S แพลทินัม - 10% โรเดียม
แพลทินัม
-50 ถึง 1768 -60 ถึง 3210 -0.236 ถึง 18.698
J เหล็ก/คอนสแตนแตน -210 ถึง 760 -350 ถึง 1400 -8.096 ถึง 42.922
K โครเมล/อะลูเมล -270 ถึง 1372 -450 ถึง 2500 -6.458 ถึง 54.875
T ทองแดง/คอนสแตนแตน -270 ถึง 400 -450 ถึง 750 -6.258 ถึง 20.869
E โครเมล/คอนสแตนแตน -270 ถึง 1000 -450 ถึง 1830 -9.835 ถึง 76.358

ตารางแสดงสภาวะแวดล้อมในการใช้งานเทอร์โมคัปเปิลแบบมาตรฐานโดยไม่ต้องใช้ Thermowell

ความเหมาะสมในการใช้งาน
Tc
Type
บรรยากาศ
Oxidizing
บรรยากาศ
Reducing
บรรยากาศ
Inert
Vacuum บรรยากาศ
Sulferous
อุณหภูมิ
< 0 C
มีไอของ
โลหะ
B ได้ ไม่ได้ ได้ ได้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้
R ได้ ไม่ได้ ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้
S ได้ ไม่ได้ ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้
J ได้ ได้ ได้ ได้ ไม่ได้ถ้า > 500 C ไม่ได้ ได้
K ได้* ไม่ได้ ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ได้ ได้
T# ได้ ได้ ได้ ได้ ไม่ได้ ได้ ได้
E ได้ ไม่ได้ ได้ ไม่ได้ ไม่ได้ ได้ ได้
      * ใช้งานได้ดีกว่าแบบ E,J และ T เมื่ออุณหภูมิ > 550 C
     # โดยเฉพาะกับอุณหภูมิ < 0 C
Oxidizing : กระบวนการทางเคมีที่ดึงออกซิเจนจากภายนอกเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารนั้น
Reducing : กระบวนการทางเคมีที่ออกซิเจนถูกดึงออกจากสารนั้นเพื่อไปทำปฏิกิริยากับสารภายนอก
Vacuum : ค่าความดันที่ต่ำกว่าบรรยากาศจนถึงสภาวะสูญญากาศ
Inert : สภาวะเฉื่อยที่ไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี

3 ความคิดเห็น: