วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รู้จักกับรีเลย์ ( Relay)

Relay ( Relay )อุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่ตัดต่อวงจร แบบเดียวกับสวิตช์ และจะทำงานโดยอาศัยการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับรีเลย์ รีเลย์นั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น รีเลย์ขนาดเล็ก ที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือ รีเลย์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานทางไฟฟ้ากำลังเป็นต้น โดยมีรูปร่าง หน้าตาแตกต่างกันไปบ้าง แต่หลักการทำงานนั้นจะคล้ายกัน

รูปรีเลย์


สัญลักษณ์ของรีเลย์


เราสามารถพบเห็นการใช้งานรีเลย์ในการตัดต่อวงจรทั่วไปโดย ที่ตัวมันนั้นจะถูกควบคุมด้วยไฟฟ้า และหน้าของรีเลย์เองยังสามารถเลือก การทำงานได้หลายรูปแบบ

สัณลักษณ์ของรีเลย์แทนโครงสร้างรีเลย์


โครงสร้างของรีเลย์ ภายในโครงสร้างของ รีเลย์ จะประกอบไปด้วยขดลวด 1 ชุด และ หน้าสัมผัส ซึ่งในหน้าสัมผัส 1 ชุด ซึ่งจะประกอบไปด้วย หน้าสัมผัสแบบปกติปิด (Normally Close หรือ NC.) ซึ่งในสภาวะปกติ ขานี้จะต่ออยู่กับขาร่วม (C) และ หน้าสัมผัสแบบปกติเปิด (Normally Open หรือ NO.)
ขานี้จะต่อเข้ากับขาร่วม (C) เมื่อขดลวดมีแรงดันตกคร่อม หรือกระแสไหลผ่าน (ในปริมาณที่เพียงพอ)
ใน รีเลย์ 1 ตัว อาจมีหน้าสัมผัสมากกว่า 1 ชุด ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิต

หลักการทำงานของรีเลย์ รีเลย์จะทำงานตามหลักการแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อเรานำเอาขดลวดพันรอบแกนเหล็กหลายรอบแล้วป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดนั้น แกนเหล็กจะกลายเป็นแม่เหล็ก( แต่จะเป็นแบบชั่วคราวเท่านั้น) และเมื่อเรานำไฟฟ้าออกแกนเหล็กจะกลายเป็นแกนเหล็กธรรมดา
เมื่อรีเลย์อยู่ในสภาวะปกติยังไม่มีการจ่ายกระแสให้รีเลย์ หน้าสัมผัส NC กับ C จะต่อถึงกัน ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปได้และเมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้นรีเลย์ ทำให้ชุดขดลวดเกิดเป็นแม่เหล็ก อำนาจแม่เหล็กจะดึงหน้าสัมผัส C มาต่อกับหน้าสัมผัส NO ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลจาก NO ไปยัง C ได้ และ เมื่อเราเอากระแสไฟฟ้าออกจากรีเลย์ หน้าสัมผัส C จะถูกสปิงดึงไปให้ติดกับหน้าสัมผัส NC ดังเดิม

การนำเอารีเลย์ไปใช้งานต้องคำนึงถึงค่ารายละเอียดของตัวรีเลย์เองด้วย โดยค่านี้มักจะเขียนไว้บนตัวรีเลย์อยู่แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น