วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

ฮีตเตอร์อินฟราเรด (INFRARED HEATER)

   ฮีตเตอนร์อินฟราเรด เป็นตัวกำเนิดแสงอินฟราเรดซึ่งเป็นแสงที่มีคลื่นยาวที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ซึ่งรังษีคลื่นความยาวนี้จะทำให้โมเลกุลของวัตถุที่ได้รับรังสีนี้เข้าไปเกิดการสั่น ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งหลักการนี้จะมีประสิทธิภาพมากเมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับวัตถุที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ หรือวัตถุที่มีโมเลกุลเกาะเรียงกันเป็นแถวยาว เช่น สี ,กาว ,อาหาร ,พลาสติก ,แลกเกอร์






แนะนำฮีตเตอร์อินฟราเรด
   ฮีตเตอนร์อินฟราเรด เป็นตัวกำเนิดแสงอินฟราเรดซึ่งเป็นแสงที่มีคลื่นยาวที่ไม่สมารถมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ซึ่งรังษีคลื่นความยาวนี้จะทำให้โมเลกุลของวัตถุที่ได้รับรังสีนี้เข้าไปเกิดการสั่น ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งหลักการนี้จะมีประสิทธิภาพมากเมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับวัตถุที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ หรือวัตถุที่มีโมเลกุลเกาะเรียงกันเป็นแถวยาว เช่น สี ,กาว ,อาหาร ,พลาสติก ,แลกเกอร์

คุณลักษณะเด่นของฮีตเตอร์อินฟราเรด
 • เป็นการส่งผ่านความร้อนแบบแผ่รังสี (แบบเดียวกับที่ดวงอาทิตย์ส่งความร้อนมายังโลก) จึงมีประสิทธิภาพสูง  ความสูญเสียต่ำ (ประหยัดไฟ 30-50%)
• สามารถให้ความร้อนกับวัตถุได้ถึงเนื้อในจึงทำให้ประหยัดเวลาได้ 1 ถึง 10 เท่า (การให้ความร้อนแบบการนำและการพาจะทำให้วัตถุร้อนเฉพาะที่ผิว แล้วค่อย ๆ ซึมเข้าไปเนื้อในจึงใช้เวลามาก)
• ให้ความปลอดภัยสูง เพราะไม่มีเปลวไฟและไฟไม่รั่ว
• ขนาดเล็กกว่าการให้ความร้อนแบบทั่ว ๆ ไป ทำให้ประหยัดเนื้อที่

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำความร้อน
   การให้ความร้อนจะมีอยู่ 3 วิธีหลัก ๆ คือ การพาความร้อน ,การนำความร้อน ,และการแผ่รังสีความร้อน

 การพาความร้อน
   คือ การให้ความร้อนแก่ตัวกลาง (โดยมากเป็นของไหล เช่น อากาศหรือน้ำ) จากนั้นก็พาตัวกลางที่ถูกทำให้ร้อนเคลื่อนที่ไปสู่วัตถุเป้าหมาย ข้อเสียของวิธีนี้คือ ความร้อนของวัตถุเป้าหมายจะขึ้นช้า (ซึ่งหมายถึงจะต้องพึ่งระบบหมุนเวียน ตัวกลาง เช่น พัดลมหรือใบพัดกวนของเหลว ในกรณีที่ตัวกลางเป็นของเหลว) และจะมีความสูญเสียความร้อนมาก อย่างไรก็ดีวิธีนี้ก็ยังคงเป็นที่นิยมที่สุด เนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายแก่ความเข้าใจ สามารถหาแหล่งความร้อนได้ง่าย เช่น น้ำมัน ,ก๊าซ ,หรือฮีตเตอร์ทั่ว ๆ ไป

 การนำความร้อน
   จะคล้ายกับการพาความร้อน แต่จะใช้ตัวกลางที่มีการนำความร้อนได้ดี ซึ่งมักจะเป็นโลหะความร้อนจะถูกนำจากปลายข้างหนึ่งของตัวกลางไปสู่ปลายอีกข้างโดยที่ตัวกลางเองจะไม่เคลื่อนที่ (การพาความร้อนนั้นตัวกลางจะเคลื่อนที่จากแหล่งความร้อนไปสู่วัตถุเป้าหมาย

 การแผ่รังสีความร้อน
   จะเป็นการแผ่รังสีที่มีคลื่นยาวไปยังวัตถุเป้าหมาย ซึ่งแสงคลื่นยาวจะทำให้โมเลกุลของวัตถุเป้าหมายสั่น ซึ่งส่งผลให้เกิดความร้อนขึ้น วิธีการนี้จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดถ้าเลือกวัตถุเป้าหมายที่เหมาะสม เนื่องจากพลังงานความร้อนประเภทนี้จะอยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสงมายังวัตถุ (แบบเดียวกับการที่ดวงอาทิตย์ส่งความร้อน มายังโลก)

1 ความคิดเห็น: